ประวัติ และความนิยม ของ Nepenthes_rajah

ดูเพิ่ม: ลำดับเหตุการณ์ของ Nepenthes rajah และลูกผสมทางธรรมชาติของมัน
คลิก [แสดง] เพื่อดูรายชื่อ สิ่งพิมพ์, ภาพวาด, และของสะสมของ Nepenthes rajah ในยุคแรก ๆ
  • สิ่งพิมพ์: Transact. Linn. Soc., XXII, p. 421 t. LXXII (1859) ; MIQ., Ill., p. 8 (1870) ; HOOK. F., in D.C., Prodr., XVII, p. 95 (1873) ; MAST., Gard. Chron., 1881, 2, p. 492 (1881) ; BURB., Gard. Chron., 1882, 1, p. 56 (1882) ; REG., Gartenfl., XXXII, p. 213, ic. p. 214 (1883) ; BECC., Mal., III, p. 3 & 8 (1886) ; WUNSCHM., in ENGL. & PRANTL, Nat. Pflanzenfam., III, 2, p. 260 (1891) ; STAPF, Transact. Linn. Soc., ser. 2, bot., IV, p. 217 (1894) ; BECK, Wien. Ill. Gartenz., 1895, p. 142, ic. 1 (1895) ; MOTT., Dict., III, p. 451 (1896) ; VEITCH, Journ. Roy. Hort. Soc., XXI, p. 234 (1897) ; BOERL., Handl., III, 1, p. 54 (1900) ; HEMSL., Bot. Mag., t. 8017 (1905) ; Gard. Chron., 1905, 2, p. 241 (1905) ; MACF., in ENGL., Pflanzenr., IV, 111, p. 46 (1908) ; in BAIL., Cycl., IV, p. 2129, ic. 2462, 3 (1919) ; MERR., Bibl. Enum. Born., p. 284 (1921) ; DANS., Trop. Nat., XVI, p. 202, ic. 7 (1927).[11]
  • ภาพวาด: Transact. Linn. Soc., XXII, t. LXXII (1859) optima; Gard. Chron., 1881, 2, p. 493 (1881) bona, asc. 1 ; Gartenfl., 1883, p. 214 (1883) bona, asc. 1 ; Wien. Ill. Gartenfl., 1895, p. 143, ic. 1 (1895) asc. 1 ; Journ. Roy. Hort. Soc., XXI, p. 228 (1897) optima; Bot. Mag., t. 8017 (1905) optima; BAIL., Cycl., IV, ic. 2462, 3 (1919) asc. 1 ; Trop. Nat., XVI, p. 203 (1927) asc. 1.[11]
  • ของสะสม: ภูเขากีนาบาลู บอร์เนียวเหนือ, IX 1913, พิพิธภัณฑ์พืชของพิพิธภัณฑ์รัฐซาราวัก (ไม่มีดอกและผล) ; Marai-parai Spur, 1-4 XII 1915, Clemens 11073, หอพรรณไม้, พิพิธภัณฑ์พืชของสวนพฤกษศาสตร์ Buitenzorg (เพศผู้และเพศเมีย) ; 1650 m, 1892, Haviland 1812/1852, พิพิธภัณฑ์พืชของพิพิธภัณฑ์รัฐซาราวัก (เพศผู้และเพศเมีย) [11]

เพราะขนาด รูปร่างที่แปลก และสีที่เด่นสะดุดใจ N. rajah จึงเป็นไม้กินแมลงยอดนิยมอย่างสูง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดในความนิยมของหมู่ผู้ที่ต้องการเพาะเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ มันสามารถกล่าวได้ว่า Nepenthes rajah เป็นเศษซากของความรู้อันน้อยนิดเกี่ยวกับพืชชนิดนี้นอกถิ่นกำเนิด เพราะมันต้องการสภาพแวดล้อมที่พิเศษ มีเพียงผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเล็ก ๆ ทั่วโลกที่นั้น ที่สามารถปลูกเลี้ยงได้ แต่กระนั้น N. rajah ก็ยังมีชื่อเสียงมากที่สุดในหมู่หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นเพราะหม้อที่แสนวิเศษของมัน นับย้อนได้ไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18

ประว้ติ ตอนต้น

หนึ่งในภาพวาดยุคแรก ๆ ของ N. rajah, ถูกตีพิมพ์ใน Life in the Forests of the Far East ในปี ค.ศ. 1862.

N. rajah ถูกพบครั้งแรกโดยฮักฮ์ โลวบนยอดเขากีนาบาลูในปี ค.ศ. 1858.[12] และถูกจัดแนกในปีเดียวกันโดยโยเซพ ดาลตัน ฮุคเกอร์ ชื่อของมันตั้งเป็นเกรียติแก่เจมส์ บรุคซึ่งเป็นคนขาวคนแรกที่ได้ปกครองรัฐซาราวัก : (White Rajah) มีรายละเอียดอยู่ใน The Transactions of the Linnean Society of London ดังนี้ :[3]

Nepenthes Rajah, H. f. (Frutex, 4-pedalis, Low). Foliis maximis 2-pedalibus, oblongo-lanceolatis petiolo costaque crassissimis, ascidiis giganteis (cum operculo l-2-pedalibus) ampullaceis ore contracto, stipite folio peltatim affixo, annulo maximo lato everso crebre lamellato, operculo amplissimo ovato-cordato, ascidium totum æquante.— (ป้าย LXXII.)

Hab.—บอร์เนียว, ฝั่งทะเลเหนือ, บนกีนาบาลู, สูง 5,000 ฟุต (ต่ำ) พืชที่น่าอัศจรรย์นี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ชนิดที่โดดเด่นสะดุดตาตั้งแต่ถูกค้นพบมาจนกระทั่งบัดนี้ และ ด้วยความเคารพ มันควรเทียบเคียงได้กับ Rafflesia Arnoldii ด้วยเหตุนี้มันควรจะได้ชื่อตามเพื่อนของฉัน "ราชาบรุค" ด้วยความช่วยเหลือจากเขาในพื้นที่นี้ มันจะได้เป็นอนุสรณ์ในหมู่นักพฤกษศาสตร์. . . . ฉันมีตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง ใบและหม้อ มันคล้ายกันมากทีเดียว แต่หม้ออีกอันใหญ่เป็น 2 เท่าของอีกอัน ใบของตัวอย่างที่ใหญ่กว่ายาว 18 นิ้ว ไม่นับก้านใบที่หนาเหมือนหัวแม่มือกว้างกว่า 7-8 เท่า ใบคล้ายแผ่นหนังเรียบเกลี้ยง มีเส้นใบไม่ชัดเจน ก้านของหม้อต่อออกมาจากส่วนล่างตรงปลายใบยาว 20 นิ้ว หนาคล้ายนิ้ว หม้อมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว มีปีกชายครุย 2 ปีกด้านหน้า ถูกปกคลุมด้วยขนสีสนิม มีต่อมเป็นปุ่มทั่วไปภายใน และความกว้างของแอนนูลัส (วงปาก) ที่ปลิ้นออกมา มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1–1½ นิ้ว ฝาปิดมีก้านสั้น ยาว 10 นิ้ว กว้าง 8 นิ้วช่อดอกเกือบไม่ได้ส่วน ช่อกระจะตัวผู้ ยาว 30 นิ้ว มีดอกประมาณ 20 ดอกบนนั้น ส่วนบนและดอกปกคลุมด้วยขนนุ่มสั้นเล็ก ๆ สีสนิม ก้านดอกเพียวบางเป็นแบบเดี่ยวหรือ 2 แฉก ให้ผลแบบช่อกระจะอ้วนสั้น ก้านยาว 1½ นิ้ว มักจะเป็นสองแฉก ผลแห้งแตกรูปแคปซูลยาว ¾ นิ้ว กว้าง ⅓ นิ้ว ออกจะบวมเต่ง ปกคลุมด้วยขนยาวนุ่มสีสนิม

สเพนเซอร์ เซนต์ จอห์นเขียนถึงการพบกับ N. rajah ของเขาบนภูเขากีนาบาลูใน Life in the Forests of the Far East ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1862:[43] ดังนี้

หลังปีนขึ้นสูง 800 ฟุตอีกครั้ง ก็นำพวกเรามาสู่ยอดเขามาเรอี พาเรอี (Marei Parei) ที่ที่พื้นดินเต็มไปด้วยหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่สวยงาม พืชที่เราตามหา พืชที่เรียกว่า Nepenthes Rajah ต้นยาวประมาณ 4 ฟุต มีใบกว้างเยียดยาวไปทุก ๆ ส่วน มีหม้อนอนเอนกบนพื้นรอบ ๆ ต้น มีรูปร่างที่น่าทึ่ง ฉันลองวัดมันอันนึง ได้ค่าดังนี้ : ความยาววัดจากด้านหลังยาวเกือบ 14 นิ้ว จากฐานถึงยอดในด้านหน้า 5 นิ้ว และฝาของมัน ยาว 1 ฟุตกว้าง 14 นิ้ว หม้อรูปไข่ ปากของมันมีจีบเป็นชั้น ๆ โดยรอบ ในแนวตั้งกว้าง 2 นิ้ว, ยอดในส่วนลู่แคบกว้าง ¾ นิ้ว ขอบยักรอบปากเป็นคลื่น ใกล้ ๆ กับก้านของหม้อลึก 4 นิ้ว เพื่อที่ว่าปากจะได้วางตัวอยู่บนมันในรูปสามเหลี่ยม สีของหม้อเก่าเป็นสีม่วงเข้ม, แต่หม้อทั่ว ๆ ไปด้านนอกมีสีม่วงสด, และเข้มขึ้นในส่วนล่างแล้วค่อย ๆ สว่างขึ้นไล่ไปถึงขอบปาก ด้านในมีสีเดียวกัน แต่เป็นมันวาว ฝามีสีม่วงสดตรงกลางและไล่มาเขียวที่ขอบ ก้านดอกเพศเมียยาว 1 ฟุตสั้นกว่าเพศผู้, และมีรูปแบบน้อยกว่าอย่างหลัง มันเป็นหนึ่งในผลงานน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติ [...] หม้อก่อนที่ฉันจะสังเกตอย่างละเอียดนอนอยู่บนพื้นรอบ ๆ และต้นที่อายุยังน้อยมีหม้อเหมือนกันกับต้นที่มีอายุมาก ขณะที่คนของเราหุงข้าวทำอาหาร เราได้นั่งอยู่น่าเต็นท์เพลิดเพลินกับการทานช็อกโกเลตและสังเกตผู้ติดตามคนหนึ่งของเราใช้หม้อของ Nepenthes Rajah ในการขนน้ำ เมื่อเราสั่งให้เขานำมันมาให้เราดู พบว่ามันสามารถจุน้ำได้ถึง 4 ขวดไพนท หม้อนั้นมีเส้นรอบวงถึง 19 นิ้ว เราถึงกับย้อนไปหาหม้ออื่น ๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ และขณะเดียวกัน โลวที่ออกไปเตร็ดเตร่หาดอก ได้พบหม้อใบหนึ่งที่มีหนูตกลงไป

ภาพวาดภาพแรกของ N. rajah ที่ได้รับการปลูกเลี้ยงในยุโรป, ตีพิมพ์ใน The Garden, 1882

N. rajah ถูกเก็บกลับมาครั้งแรกสำหรับสถานเพาะเลี้ยงวีตช์ (Veitch Nurseries) โดยเฟรดเดอร์ริก วิลเลียม เบอร์บิดก์ (Frederick William Burbidge) ในปี ค.ศ. 1878 ระหว่างการเดินทางไปบอร์เนียวครั้งที่ 2 ของเขา[44] ในระยะสั้น ๆ หลังมีการเริ่มปลูกเลี้ยงในปี ค.ศ. 1881 N. rajah ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการอย่างมากในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยงผู้มั่งคั่งในสมัยวิกตอเรีย บันทึกใน The Gardeners' Chronicle ของปี ค.ศ. 1881 พูดถึงต้นไม้ของวีตช์ดังนี้ : "N. rajah ที่เห็นยังมีอายุน้อย และมันจะกลายเป็นภาพวาดในหน้าหนังสือของเราเมื่อเร็ว ๆ นี้..."[45] 1 ปีให้หลัง N. rajah น้อยก็ปรากฏตัวที่ Royal Horticultural Society งานแสดงประจำปีเป็นครั้งแรก[46] ของตัวอย่างในงาน ถูกจัดแสดงโดยสถานเพาะเลี้ยงวีตช์เป็น N. rajah ต้นแรกที่ถูกปลูกเลี้ยงในยุโรป และชนะในประกาศนียบัตรชั้น 1[47] ในบัญชีราคาขายของวีตช์ในปี ค.ศ. 1889 N. rajah มีราคา £2.2s ต่อต้น[48] ในเวลานั้นความสนใจและความต้องการในหม้อข้าวหม้อแกงลิงเพิ่มขึ้นสูงมาก The Garden รายงานว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงถูกขยายพันธุ์เป็นพันต้นเพื่อตอบสนองความต้องการในยุโรปที่มีตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ความสนใจในหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็ลดน้อยถอยลงเมื่อขึ้นศตวรรษใหม่ ดูได้จากการปิดตัวลงของสถานเพาะเลี้ยงวีตช์และความสูญเสียต้นไม้ทั้งชนิดแท้และลูกผสมในการปลูกเลี้ยงหลาย ๆ ครั้ง รวมถึง N. northiana และ N. rajah ด้วย ในปี ค.ศ. 1905 ก็ถึงจุดสิ้นสุด N. rajah ของสถานเพาะเลี้ยงวีตช์ก็ได้ตายลง เพราะความต้องการตามธรรมชาติของต้นไม้นั้นยากที่จะสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองได้ง่าย ๆ [46] N. rajah ต้นสุดท้ายที่เหลือรอดในการปลูกเลี้ยง ณ.เวลานั้นอยู่ที่สวนพฤกษศาสตร์แห่งชาติที่ Glasnevin ใน เกาะไอร์แลนด์แต่มันก็ตายตามในไม่ช้า[46] ต้องใช้เวลาอีกหลายปีต่อมา N. rajah ถึงสามารถทำการปลูกเลี้ยงได้

ความนิยมที่กลับมา

เมื่อไม่นานมานี้ความสนใจในหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็กลับมาใหม่อีกครั้งทั่วโลก อาจเป็นเพราะไซเกะโอะ คุระตะ ผู้เขียนหนังสือ Nepenthes of Mount Kinabalu (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งภูเขากีนาบาลู) (ค.ศ. 1976) ที่มีรูปถ่ายสีสวย ๆ ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง ได้นำความสนใจเป็นอย่างมากมายมาสู่พืชที่พิสดารนี้

หม้อข้าวหม้อแกงลิง N. rajah ที่รู้จักกันดีในประเทศมาเลเซีย พืชท้องถิ่นของรัฐซาบะฮ์ ถูกนำมาใช้เพื่อโฆษณารัฐซาบะฮ์และอุทยานแห่งชาติกีนาบาลูให้เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวและถูกใช้เป็นลักษณะพิเศษบนไปรษณียบัตร N. rajah ยังปรากฏว่าเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงยอดนิยมที่ปรากฏบนสิ่งพิมพ์ รวมถึง Nepenthes of Mount Kinabalu (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งภูเขากีนาบาลู) (คุระตะ, ค.ศ. 1976) และ Nepenthes of Borneo (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งบอร์เนียว) (คลาร์ก, ค.ศ. 1997) ที่ถูกพิมพ์ในโกทา กีนาบาลู (Kota Kinabalu) ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1996 ประเทศมาเลเซียได้จัดพิมพ์แสตมป์ 4 ดวง เป็นรูปหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่มีชื่อเสียง แสตมป์ราคา 30¢ 2 ดวง เป็นรูป N. macfarlanei และ N. sanguinea ส่วนราคา 50¢ อีก 2 ดวงเป็นรูป N. lowii และ N. rajah ออกจำหน่าย[49] แสตมป์ N. rajah ถูกกำหนด ให้มีการระบุบหมายเลยพิเศษในสองระบบระบุบหมายเลขแสตมป์ โดยมีของสก็อต แคททาล็อก (Scott catalogue) เป็นหมายเลข 580 และ Yvert et Tellier เป็นหมายเลข 600

แหล่งที่มา

WikiPedia: Nepenthes_rajah http://homepage.univie.ac.at/christian.puff/AS_Bor... http://borneoexotics.com/aspx/guides.aspx http://www.borneoexotics.com/Species%20Data/rajah.... http://www.captiveexotics.com/rajah.htm http://www.cpjungle.com/nucraj.htm http://www.cpzine.com/article.aspx?cid=13&y=2002&m... http://www.discover.com/issues/oct-01/features/fea... http://www.omnisterra.com/botany/cp/pictures/nepen... http://www.plantswithattitude.com/rajah.html http://www.scarnivores.com/showphotos.asp?id=N%7C~...